​​

4 วิธีกระตุ้นพนักงานหลังจากวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาวเป็นช่วงที่วิเศษสุดของปี แต่หลังจากวันหยุดพักผ่อน พนักงานมักจะเกิดความเครียดที่ต้องเผชิญกับภูเขางานที่ทับถมไว้ช่วงปลายปี อีกทั้งอีเมลต่างๆที่ยังไม่ได้เปิดอ่านและเป้าหมายปลายปีที่พวกเขาอาจจะยังทำไม่สำเร็จ พนักงานอาจจะต้องการเวลาเพื่อจูนตัวเองสักพักก่อนกลับมาต่องานในส่วนที่ตัวเองได้ทำเอาไว้ก่อนวันหยุด

จากการสำรวจบุคคล 1,200 คนในช่วงเดือนธันวาคมปี 2016 โดย Appreciation at work ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า การทำงานช่วงสิ้นปีให้เสร็จถือเป็นความกดดันอันดับต้นๆที่พวกเขาไม่ชอบเลยเมื่อช่วงวันหยุดยาวใกล้เข้ามา และบรรดาผู้จัดการก็ไม่ได้ช่วยทำให้งานพวกเขาง่ายขึ้นหลังจากกลับมาทำงาน นอกจากนี้จากการสำรวจพนักงานออฟฟิศ 1,400 คน ซึ่งตีพิมพ์โดย Wrike ในเดือนตุลาคมพบว่า 34% ของพนักงานระบุว่าพวกเขาไม่พอใจกระบวนการจัดการตารางงานของบริษัท

วันนี้ Bytechunch มีวิธีที่ผู้บริหารหรือผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคลจะสามารถช่วยพนักงานให้กลับมากะปรี้กะเปร่าและทำงานได้ไหลลื่นยิ่งขึ้นหลังวันหยุด เอาล่ะตามมาอ่านไปพร้อมกันเลยค่ะ

1. สื่อสารอย่างชัดเจน

เมื่อพนักงานกลับไปทำงานก็จะพบอีเมลงานหลายร้อยฉบับรออยู่ แต่ถึงจะมีอีเมลเข้ามามากมาย ทว่าพนักงานมักจะพบว่าพวกเขาขาดข้อมูลที่จำเป็นในการทำงานนั้นๆให้เสร็จ เพราะข้อมูลที่ถูกส่งมาในเมลช่วงวันหยุดนั้นอาจจะจมหายไปในบรรดาอีเมลอื่นๆและขาดการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งการจัดการอีเมลทั้งหมดนั้นค่อนข้างจะใช้เวลา จากการสำรวจของ CareerBuilder ในเดือนมิถุนายนพบว่าร้อยละ 31ของผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุุคคลต่างเห็นด้วยว่าอีเมลเป็นปัจจัยอันดับต้นที่ลดประสิทธิผลของพนักงานในการทำงาน และจากการสำรวจของ Wrike ยังสนับสนุนข้อเท็จจริงนี้ด้วยว่า ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของความเครียดของพนักงาน

ฉะนั้นในฐานะผู้จัดการหรือผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล การช่วยเหลือพนักงานให้เอาชนะภาระงานที่มากเกินไปหลังจากวันหยุดนั้นคือการ “ปรับปรุงการสื่อสาร” เช่น พยายามอย่าเพิ่มเมลใดๆลงไปใน inbox ของพนักงานที่เต็มไปด้วยเมลงานมากมายอยู่แล้ว ให้เลือกสื่อสารต่อหน้าหรือทางโทรศัพท์หรือทางการสื่อสารภายในเช่น Team chat

นอกจากนี้หัวหน้าทีมควรเตรียมข้อมูลทั้งหมดที่พนักงานควรจะได้รับเพื่อช่วยให้พวกเขากลับไปต่องานได้เร็วที่สุด

อัปเดตข้อมูลที่จำเป็นกับพวกเขา เช่น ข้อมูลโครงการหรือการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาส่งงาน เช็คข้อมูลลูกค้าที่ยังขาดหาย หรือข้อมูลที่ยังคั่งค้างในอีเมล วิธีนี้จะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างานและพร้อมที่จะทำงานมากขึ้น
2. กำหนดเป้าหมายปีใหม่


ปกติแล้วบริษัทมักจะกำหนดเป้าหมายระยะยาวของบริษัทให้ยิ่งใหญ่เพื่อกระตุ้นพนักงาน ซึ่งในทางธุรกิจคือเรื่องที่ดี แต่จากการสำรวจของ Wrike พบว่าร้อยละ 49 ของพนักงานยอมรับว่า การเซตเป้าหมายบริษัทที่มากเกินความเป็นจริงเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของความเครียดในที่ทำงาน จริงๆแล้วพนักงานก็ต้องการเป้าหมายระยะยาวเพื่อให้พวกเขามีแรงจูงใจที่จะมุ่งไปข้างหน้า แต่การตั้งเป้าหมายระยะยาวแบบนี้ไม่ได้ช่วยกระตุ้นให้พวกเขาอยากทำงานมากขึ้นหลังวันหยุดยาว
พนักงานเองต้องการโปรเจคที่พวกเขาสามารถจัดการได้และเป้าหมายโดยรวมที่ทำให้พวกเขาได้มีส่วนร่วม ผู้จัดการและผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลเองก็สามารถช่วยกระตุ้นพนักงานให้นึกถึงเป้าหมายระยะยาวของบริษัทได้โดยกำหนดเป้าหมายปีใหม่กับพนักงานแต่ละคน วิธีนี้จะทำให้พวกเขาได้ตั้งธงว่าสิ่งใดที่ตนจะต้องทำให้สำเร็จและสิ่งไหนที่ต้องทำหลังจากกลับวันหยุดยาว เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายบริษัทไปพร้อมกัน

3. อำนวยความสะดวกต่อการทำงานเป็นทีม

นอกจากการเผชิญปริมาณงานที่มากแล้ว ปัญหาต่อมาที่พนักงานมักพบคือการแบ่งงานกัน และการทำงานร่วมกันเป็นทีม และเป็นเรื่องปกติที่พบเจอกันได้บ่อยๆเมื่อคนในทีมแต่ละคนอาจจะรู้สึกยังไม่พร้อมทำงานและผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ ซึ่งจะส่งผลกับประสิทธิผลโดยรวมของการทำงาน จากการสำรวจของ Wrike พบว่า การขาดความร่วมมือในการทำงาน ความรับผิดชอบงานที่ไม่ชัดเจนและปัญหาของสมาชิกในทีมที่ไม่ช่วยเหลือกัน เป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดในที่ทำงานด้วยเช่นกันเพื่อให้ฝ่าฟันปริมาณงานหลังวันหยุดยาวไปได้ พนักงานจำเป็นจะต้องเข้าใจความรับผิดชอบและการทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายในการทำงาน ผู้จัดการและผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลควรตรวจสอบบทบาทและการมอบหมายของทีมงานเพื่อเตือนให้พนักงานรู้สึกถึงความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองและร่วมมือกันทำงาน

4. กำจัดการผัดวันประกันพรุ่ง

เมื่อพนักงานกลับมาทำงานหลังวันหยุด พวกเขามักจะเคลื่อนไหวช้าในด้านของการทำงาน เพราะพวกเขามักใช้เวลาส่วนใหญ่พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานเรื่องปาร์ตี้และทริปกับครอบครัวและโชว์รูปถ่ายบนโซเชียล

จากการสำรวจพนักงานบริษัทโดย Wrike ร้อยละ 51 จัดอันดับปัญหาการผัดวันประกันพรุ่งของงานเป็นแรงกดดันอันดับต้นๆของที่ทำงาน และช่วงหลังวันหยุดยาวจะเป็นช่วงที่พนักงานจะผัดวันประกันพรุ่งมากกว่าปกติ

ผู้จัดการและผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยช่วยแบ่งงานของพนักงานตามลำดับความสำคัญและกำหนดเวลาสำหรับแต่ละคน แทนที่จะปล่อยให้พวกเขากลัวงานใหญ่ที่เกิดขึ้นช่วงวันหยุด เพราะหากพนักงานรู้ว่าพวกเขาจะต้องส่งงานในตอนท้ายของวัน พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะวอกแวกน้อยลงและโฟกัสให้งานเสร็จมากขึ้นหลังจากช่วงวันหยุด
เรื่องการกระตุ้นพนักงานหลังวันหยุดยาวนี้ต้องใช้การสื่อสารเป็นสำคัญ และ HR เองก็อาจจะต้องจัดการข้อมูลวันลาหยุดของพนักงานในช่วงวันหยุดยาว ซึ่งก็สามารถจัดการได้ด้วยโปรแกรมการจัดการเวลาเข้า-ออกของพนักงาน และโปรแกรมจัดการวันลา เพื่อให้การบันทึกข้อมูลมีประสิทธิภาพและพนักงานที่ทำงานช่วงวันหยุดเทศกาลได้รับค่าตอบแทนที่สมเหตุผล
หากคุณประสบปัญหาการจัดการข้อมูลการขาดลา มา สาย ของพนักงานและยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ คุณสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของ ByteHR ฟรีได้ทาง 02 026 3297 หรือติดต่อ

sales@byte-hr.com


« 3 สิ่งที่ผู้นำ HR ต้องรู้ในปี 2020 โดย Gartner8 วิธีง่าย ๆ เพื่อลดเวลาทำงานล่วงเวลาของพนักงาน (ตอนที่ 1) »

Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด